นาซ่าฮือฮาภาพถ่ายจากอวกาศนึกว่าเอเลี่ยนบุกโลกบริเวณอ่าวไทย! เคยได้ยินข่าวเหล่านี้มากันบ้างแล้วใช่ไหม? ทำเอาตื่นเต้นฮือฮาเป็นข่าวดังไปทั่วโลก
เมื่อไม่นานมานี้ มีนักบินอวกาศคนหนึ่งได้มองลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ มายังท้องทะเลอ่าวไทยในยามราตรี มองเห็นแสงไฟประหลาดสีเขียวอยู่เต็มท้องทะเลอ่าวไทย แล้วรู้สึกงุงงงสงสัยปนแปลกใจ แถมยังคาดเดาไปต่างๆนานา ว่ามันคือแสงอะไรกันแน่ อาจจะเป็นแสงของสาหร่ายทะเล หรือจะเป็นกากนิวเคลียร์ ไมยังงั้นคงเป็นเอเลี่ยนบุกโลกเป็นแน่
และจนในที่สุดนาซ่าต้องออกมาเฉลยความจริง อันที่จริงแสงสีเขียวที่เห็นในท้องทะเลอ่าวไทยยามค่ำคืน ไม่ใช่สาหร่ายทะเล กากนิวเคลียร์หรือเอเลี่ยนบุกโลกแต่อย่างใด แต่ทว่าแสงสีเขียวแสนประหลาดเหล่านั้นมันคือแสงไฟจากบรรดาเรือประมงไดหมึก ที่ต่างพากันพร้อมใจเปิดไฟสีเขียวเพื่อล่อหมึกนั่นเอง!! ก็หายสงสัยกันไป
แต่ที่ต้องสงสัยกันต่อคือ ไฟไดหมึก หรือ ไฟล่อหมึก ทำไมต้องเป็นสีเขียว?
ไฟสำหรับทำประมงกลางคืน ไฟหาปลา ไฟตกปลา ไฟตกหมึก ไฟไดหมึก หรือไฟล่อหมึก ส่วนใหญ่แล้วมีใช้อยู่ 2 สี หลักๆ คือ ไฟสีขาว และไฟสีเขียว
หมึกชอบมาเล่นไฟสีเขียวจริงหรือ มีสีที่ดีกว่า ดึงดูดปลาได้มากกว่านี้ไหม? หรือหมึกมาตอมไฟสีอะไรก็ได้ สีของแสงไฟมีผลกับตาของหมึกจริงหรือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าไฟสีไหนจะล่อหมึกได้ดีที่สุด หลายๆคนอาจสงสัยว่า ทำไม ไม่ใช้ ไฟสีแดง สีเหลือง สีส้ม หรือสีม่วง ทำไมต้อง ไฟสีขาว หรือไฟสีเขียว ? ใครเคยหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดาร์เรล คีธ ผู้ก่อตั้ง บริษัทไฮโดรโกลว์ ที่ดำเนินธุรกิจด้านไฟสำหรับช่วยในการปลา ( www.hydroglow.com ) ตั้งอยู่เมืองดอว์สัน รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับไฟเหมาะสำหรับใช้ดึงดูดปลา และสรุปว่า ความยาวคลื่นของแสงสีขาว และแสงสีเขียว (495-570 nm) มีความโดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญ ในการดึงดูดแพลงก์ตอน แพลงก์ตอน นั้นอย่างที่ทราบกันเป็นลำดับล่างสุดของห่วงโซ่ เป็นอาหารหลักของปลาขนาดเล็ก ดังนั้น เมื่อแพลงก์ตอนมารวมกันจำนวนมากๆ บรรดาปลาเล็กปลาน้อยทั้งหลายก็ตามเข้ามากินอาหาร และปลานักล่าทั้งหลายก็ตามมากินปลาเล็กนั้นอีกที
แต่ก็มีปลานักล่าบางชนิดเหมือนกันที่ แสงไฟดึงดูดปลาโดยตรงเหมือนแพลงก์ตอน แม้ในกรณีนี้ ไฟแสงสีเขียวก็ได้ผลดีกว่าแสงสีอื่นอีกเช่นกัน
ส่วนไฟแสงสีฟ้าถึงสีน้ำเงิน (425-490 nm) นั้น ให้ผลดีเหมือนกับ ไฟสีเขียว ในด้านความสามารถในการลงไปในน้ำได้ลึกและให้ผลดีในการดึงดูดปลาเล็กปลาน้อยในน้ำทะเล เหมือนไฟแสงสีเขียว แต่ทว่าแสงสีน้ำเงินให้ผลไม่ดีนักสำหรับการจับปลาในน้ำจืด
ไฟแสงสีขาว ให้ผลในการดึงดูดแพลงก์ตอนดีเช่นกัน แต่ไฟแสงสีขาว สว่างลงไปในน้ำได้น้อย หรืออีกความหมายหนึ่งคือถูกดูดกลืนในน้ำได้มากกว่าไฟแสงสีเขียว หรือสีฟ้า จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการดึงดูดแพลงก์ตอนได้น้อยกว่า เนื่องมาจาก น้ำทะเลมีสีเขียวอมฟ้า ซึ่งเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสาหร่ายที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในน้ำ และสาหร่ายเหล่านั้นมีคุณสมบัติดูดกลืนแสงสีแดงได้ดี เมื่อสีแดงของแสงถูกดูดกลืนไป นั่นจึงทำให้เรามองเห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมฟ้า
จึงเป็นข้อสันนิษฐานที่ว่า ทำให้ปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับสูงขึ้นมา มีการปรับตัวให้มองเห็นสีเขียวหรือสีฟ้าของน้ำทะเลเป็นเสมือนฉากหลัง หรือแบกกราวด์ในการมองเห็นและเพื่อทำให้มองเห็นอาหารได้ง่ายขึ้นนั่นเอง และในเหล่าบรรดาอาหารทั้งหลายโดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอน ส่วนใหญ่จะมีสีออกไปทางสีแดง จึงทำให้ปลา มองเห็นและหาเป็นอาหารได้ง่ายขึ้นเมื่อมีฉากหลังสีเขียวหรือฟ้า
ตาของปลาบางชนิดนั้น มีประสาทรับสีด้วย นั่นคือ นอกจากจะถูกดึงดูดจากความสว่างของแสงแล้ว ยังถูกดึงดูดด้วยสีของแสงไฟได้ด้วย
ส่วนตาของหมึก และสัตว์จำพวกแมลงเช่นกุ้ง ไม่ได้มีประสาทรับสี แต่อย่างใด จึงไม่ได้ถูกดึงดูดด้วยสีของแสงไฟ แต่พอมีฉากหลังในการมองเห็นเป็นสีเขียวเหมือนตามธรรมชาติที่พวกมันอาศัยอยู่ การมองเห็นอาหารจึงมองเห็นได้ชัดกว่ามองผ่านฉากหลังสีอื่น การใช้ ไฟสีเขียว จึงไม่ได้ดึงดูดหมึกโดยตรง แต่เป็นการล่ออาหารของหมึกอีกที
แตกต่างจากสัตว์ลำดับล่างในห่วงโซ่อาหาร การมองเห็นของสัตว์ขนาดเล็กเหล่านี้จะตอบสนองโดยตรงกับสีของแสงไฟ โดยแสงไฟสีเขียวสีฟ้า จะดึงดูดแพลงก์ตอนได้ดีกว่า
และจากข้อเท็จจริงที่ว่า ปลาหรือสัตว์น้ำทั้งหลายล้วนมีความต้องการอยู่ในที่ที่มีอาหารมาก สามารถจับกินเป็นอาหารได้ง่ายตามสัญชาตญาณ
ดังนั้น ในการออกเรือแต่ละครั้งนอกจากความรู้ความสามารถประสบการณ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย บวกกับโชคแล้ว การเข้าใจธรรมชาติของปลาหรือสัตว์น้ำมากยิ่งขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหาปลาให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นไปอีก
หากอ่านแล้วเห็นว่าบทความเนื้อหามีประโยชน์ กรุณา กดlike กดแชร์ ด้านล่าง |
บทความที่เกี่ยวข้อง: ไฟไดหมึก ทำไมต้องเป็นสีเขียว? | ไฟไดหมึกที่ดีที่สุด เป็นยังไง? | LEDคืออะไร? | หลอด LED ดีอย่างไร | หลอดไฟled เปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดอื่น ดีกว่ายังไง | ความรู้เกี่ยวกับLED- รู้ไว้ไม่โดนหลอก | ค่าความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่ทำงาน |
เลือกซื้อสินค้า สินค้าไฟไดหมึก |
"ช่วยกันทำให้โลกสว่างไสว และรักษ์โลกด้วยไฟLED" |
หน้าแรก |
หน้าสินค้า |
วิธีการชำระเงิน |
วิธีการจัดส่งสินค้า |
ติดต่อเรา
|
นโยบายบริษัท | นโยบายความเป็นส่วนตัว | นโยบายการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน |
Copyright © 2003-2024. KLC Bright Co., Ltd. All Rights Reserved. |